ข้ามไปเนื้อหา

จอร์จ เวอาห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอร์จ เวอาห์
ประธานาธิบดีไลบีเรีย คนที่ 25
ดำรงตำแหน่ง
16 มกราคม ค.ศ. 2018 – 22 มกราคม ค.ศ. 2024
รองประธานาธิบดีจีเวล ฮาวเวิร์ด เทย์เลอร์
ก่อนหน้าเอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ
ถัดไปJoseph Boakai
สมาชิกวุฒิสภา
จากเทศมณฑลมอนต์เซอร์ราโด
ดำรงตำแหน่ง
14 มกราคม ค.ศ. 2015 – 16 มกราคม ค.ศ.2018
ก่อนหน้าจอยซ์ มูซู ฟรีแมน-ซูโม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
จอร์จ ทาวลอน มันเนห์ ออปปง
อุสมาน เวอาห์

(1966-10-01) 1 ตุลาคม ค.ศ. 1966 (58 ปี)[1]
มอนโรเวีย, ประเทศไลบีเรีย
สัญชาติธงของประเทศไลบีเรีย ไลบีเรีย
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
พรรคการเมืองCongress for Democratic Change
คู่สมรสClar Weah (ชาวจาไมกา)[2]
บุตร3, รวม จอร์จ
ความสัมพันธ์Christopher Wreh (Cousin)
ศิษย์เก่าParkwood University
DeVry University
จอร์จ เวอาห์
ข้อมูลส่วนตัว
ตำแหน่ง กองหน้าตัวเป้า
สโมสรเยาวชน
1981–1984 Young Survivors Claratown
1984–1985 Bongrange Company
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1985–1986 Mighty Barrolle 10 (7)
1986–1987 Invincible Eleven 23 (24)
1987 Africa Sports 2 (1)
1987–1988 Tonnerre Yaoundé 18 (14)
1988–1992 มอนาโก 103 (47)
1992–1995 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็งn 96 (32)
1995–2000 มิลาน 114 (46)
2000เชลซี (ยืมตัว) 11 (3)
2000 แมนเชสเตอร์ซิตี 7 (1)
2000–2001 มาร์แซย์ 19 (5)
2001–2003 Al Jazira 8 (13)
รวม 411 (193)
ทีมชาติ
1987–2003 ไลบีเรีย 60 (22)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

จอร์จ ทาวลอน มันเนห์ ออปปง อุสมาน เวอาห์ (อังกฤษ: George Tawlon Manneh Oppong Ousman Weah; เกิดวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1966) เป็นนักการเมืองและอดีตนักฟุตบอลอาชีพชาวไลบีเรีย เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไลบีเรียคนที่ 25 ตั้งแต่ ค.ศ. 2018 ถึง ค.ศ. 2024 ก่อนหน้าที่เขาจะได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี เขาเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาจากเทศมณฑลมอนต์เซอร์ราโด สำหรับอาชีพฟุตบอล เขาเคยเล่นในตำแหน่งกองหน้า โดยเริ่มเล่นในระดับอาชีพตั้งแต่อายุ 18 ปี จนกระทั่งเลิกเล่นใน ค.ศ. 2003[3] เขาเป็นนักฟุตบอลชาวแอฟริกันคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประมุขของรัฐ[4]

หลังจากที่เริ่มเล่นฟุตบอลอาชีพในประเทศบ้านเกิดอย่างไลบีเรีย เวอาห์ได้เล่นให้กับหลายสโมสรในฝรั่งเศส อิตาลี และอังกฤษเป็นระยะเวลาถึง 14 ปี อาร์แซน แวงแกร์เป็นผู้ที่นำพาเขาไปเล่นฟุตบอลในยุโรป โดยเขาได้เซ็นสัญญากับมอนาโกของแวงแกร์ใน ค.ศ. 1988 เวอาห์ย้ายไปปารีแซ็ง-แฌร์แม็งใน ค.ศ. 1992 นอกจากเขาจะพาทีมชนะเลิศลีกเอิงใน ค.ศ. 1994 แล้ว เขายังเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 1994–95 อีกด้วย ต่อมาเขาเซ็นสัญญากับเอซี มิลานใน ค.ศ. 1995 เขามีช่วงเวลาที่ดีกับสโมสรถึงสี่ฤดูกาล โดยเขาพามิลานชนะเลิศเซเรียอาได้ถึงสองสมัย[5] ต่อมาเขาได้ย้ายไปพรีเมียร์ลีก โดยได้เล่นให้กับเชลซี ซึ่งพาทีมชนะเลิศเอฟเอคัพ และยังได้เล่นให้กับแมนเชสเตอร์ซิตี เขากลับเป็นฝรั่งเศสอีกครั้งเพื่อเล่นให้กับมาร์แซย์ใน ค.ศ. 2001 เขายุติอาชีพนักฟุตบอลกับอัลญะซีเราะฮ์ใน ค.ศ. 2003 โฟร์โฟร์ทู จัดอันดับให้เวอาห์เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดที่ไม่เคยชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[6]

ในระดับทีมชาติ เวอาห์ได้เล่นให้กับไลบีเรียในแอฟริกาคัพออฟเนชันส์สองครั้ง เขาลงเล่นให้กับทีมชาติ 75 นัดและยิงได้ 18 ประตู เขากลับมาเล่นให้ทีมชาติอีกครั้งในนัดกระชับมิตรเมื่อ ค.ศ. 2018 ซึ่งนั่นทำให้เสื้อหมายเลข 14 ถูกยกเลิก เขาได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดที่ไม่เคยลงเล่นในฟุตบอลโลก[7][8]

เวอาห์ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้เล่นชาวแอฟริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล โดยใน ค.ศ. 1995 เขาได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของฟีฟ่าและยังได้รับรางวัลบาลงดอร์ ทำให้เขาเป็นผู้เล่นชาวแอฟริกันคนแรกและคนเดียวที่ได้รับรางวัลนี้ เขาได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของแอฟริกาในปี 1989, 1994 และ 1995 และได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของแอฟริกาแห่งศตวรรษในปี 1996 เขามีความโดดเด่นในด้านความเร่ง ความเร็ว และการเลี้ยงลูกบอล เช่นเดียวกันกับการยิงประตูและการจบสกอร์ ฟีฟ่าบรรยายถึงเวอาห์ว่าเป็น "ต้นแบบของกองหน้าสารพัดประโยชน์ในปัจจุบัน"[9] และใน ค.ศ. 2004 เปเล่ใส่ชื่อเวอาห์ในฟีฟ่า 100 ซึ่งเป็นรายชื่อของนักฟุตบอลที่ยังมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก[10]

เวอาห์เริ่มเข้าสู่วงการการเมืองหลังจากที่เขาประกาศเลิกเล่น เขาก่อตั้งสภาเพื่อการเปลี่ยนแปลงอันเป็นประชาธิปไตย แต่สุดท้ายเขาก็พ่ายแพ้ต่อเอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟในการเลือกตั้งปี 2005 ต่อมาในการเลือกตั้งปี 2011 เขาล้มเหลวอีกครั้งในการรับเลือกเป็นรองประธานาธิบดีร่วมกับวินสตัน ทับแมน ต่อมาเวอาห์ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาจากเทศมณฑลมอนต์เซอร์ราโดในการเลือกตั้งปี 2014 สุดท้ายแล้ว เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีไลบีเรียในการเลือกตั้งปี 2017 ด้วยเอาชนะรองประธานาธิบดีในตอนนั้นอย่างโจเซฟ โบไค[11][12] และเข้ารับพิธีปฏิญาณตนเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2018[13]

กำเนิดและเริ่มต้นอาชีพการค้าแข้ง

[แก้]

เวอาห์เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1966 ที่เมืองมอนโรเวีย ประเทศไลบีเรีย เขาเกิดมาในย่านสลัมของเมืองหลวงของประเทศกาฬทวีปแห่งนี้ ทำให้มีความยากจนข้นแค้นอย่างมาก แต่เขาเล่นฟุตบอลจนเตะตาสโมสรในไลบีเรียได้นำตัวเขามาร่วมทีมไมจ์ตี บาร์โรลล์ โดยกดไป 7 ประตูจาก 10 นัด จนได้เข้ามาร่วมทีมอินวินซิเบิล อิเลฟเว่น โดยกดไป 24 จากการลงเล่น 23 นัด จนได้เข้าร่วมทีมแอฟริกา สปอตส์ ถึงแม้จะลงเล่นแค่ 2 นัด แต่ก็ยิงได้ 1 ประตู ซึ่งถือว่าไม่น่าเกลียดนัก จึงได้เข้ามาร่วมทีมทอนเนอร์เร่ ยาอูนเดโดยยิงไป 14 ประตูจาก 18 นัดจนไปเตะตาอาร์แซน แวงแกร์ จนได้เข้าร่วมทีม โมนาโก และโชว์ฟอร์มได้ดีอย่างมาก ทำให้เขาได้มาเล่นที่ปารีส แซ็ง-แชร์แม็ง และก็รักษามาตรฐานเดิมไว้ได้ จนได้ย้ายไปสโมสรฟุตบอลเอซีมิลาน และนั่นทำให้เขาโชว์ฟอร์มที่เรียกได้ว่าสุดยอดมากขึ้นมา จนได้บัลลงดอร์เลยทีเดียว ก่อนบั้นปลายชีวิตจะย้ายไปร่วมทีมสโมสรฟุตบอลเชลซี,สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี,โอลิมปิกมาร์กเซย และ สโมสรฟุตบอลอัลจาซีรา ตามลำดับจนกระทั่งเลิกเล่นในปี 2003 หลังจากนั้นเขาก็เล่นการเมืองและลงเลือกตั้งในปี 2005 แต่แพ้ จนกระทั่ง 2017 เขาชนะการเลือกตั้งจนได้เป็นประธานาธิบดีของไลบีเรียได้สำเร็จ

เกียรติประวัติ

[แก้]

สโมสร

[แก้]

Mighty Barrolle

Invincible Eleven

  • ไลบีเรียนพรีเมียร์ลีก: 1986–87

มอนาโก

ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง

เอซี มิลาน

เชลซี

ทีมชาติ

[แก้]

ไลบีเรีย

  • CSSA Nations Cup รองชนะเลิศ: 1987[15]

รางวัลส่วนตัว

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "FIFA Magazine – An idol for African footballers". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2006. สืบค้นเมื่อ 6 December 2006.
  2. Mabande, Ben (4 October 2017). "Jamaican "First Lady" for Liberia Excites Jamaicans worldwide". Globe Afrique. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-30. สืบค้นเมื่อ 29 December 2017./
  3. "George Weah: Ex-AC Milan, Chelsea & Man City striker elected Liberia president". BBC. 22 June 2018.
  4. "George Weah elected Liberian president". BBC News (29 December 2017). “Africa has now produced its first ex-footballer head of state”. Retrieved 13 November 2020
  5. "AC Milan Hall of Fame: George Weah". AC Milan. สืบค้นเมื่อ 9 December 2014.
  6. "The 25 best players never to win the Champions League. #19 Weah". FourFourTwo. สืบค้นเมื่อ 28 August 2018.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ LA Times
  8. "Weah: Ballon d'Or put me and Liberia on the map". FIFA.com. 22 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-23. สืบค้นเมื่อ 2021-04-28. Whenever football fans name the best players never to have played at the World Cup finals, Weah is one of the first to be mentioned.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Iconic Weah a true great
  10. "Pele's list of the greatest". BBC News. 4 March 2004. สืบค้นเมื่อ 15 June 2013.
  11. Liberia’s election threatens its fragile stability Financial Times, 8 April 2016
  12. "Weah maintains lead in Liberia election's early results". News24. Naspers. The Associated Press. 14 October 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-13. สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
  13. "Liberia: George Weah sworn in as president". Al Jazeera. Retrieved 22 March 2018
  14. 14.0 14.1 "A.C. Milan Hall of Fame: George Weah". acmilan.com. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
  15. https://www.11v11.com/players/george-weah-106/
  16. "African Player of the Year". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 5 January 2001. สืบค้นเมื่อ 9 January 2014.
  17. "Matches of FIFA XI". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2015. สืบค้นเมื่อ 16 June 2016.
  18. "France – Footballer of the Year". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015. สืบค้นเมื่อ 16 June 2016.
  19. Roberto Di Maggio; Roberto Mamrud; Jarek Owsianski; Davide Rota (11 June 2015). "Champions Cup/Champions League Topscorers". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 22 December 2015.
  20. Piers Edwards (13 October 2015). "History of the BBC African Footballer of the Year award". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 9 March 2016.
  21. 21.0 21.1 José Luis Pierrend (6 March 2012). ""Onze Mondial" Awards: Onze de Onze 1976–2011". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 14 September 2015.
  22. Rob Moore; Karel Stokkermans (21 มกราคม 2011). "European Footballer of the Year ("Ballon d'Or")". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2009. สืบค้นเมื่อ 22 December 2015.
  23. 23.0 23.1 José Luis Pierrend (12 กุมภาพันธ์ 2015). "FIFA Awards". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
  24. "ESM XI". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2016. สืบค้นเมื่อ 13 April 2015.
  25. "FACTSheet FIFA awards" (PDF). FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2016.
  26. "Africa – Player of the Century". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 March 2016.
  27. "World Soccer Players of the Century". World Soccer. สืบค้นเมื่อ 29 August 2014.
  28. Christopher Davies (5 March 2004). "Pele open to ridicule over top hundred". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 13 April 2015.
  29. "The 2004 ESPY Awards – Weah selected for Arthur Ashe Courage Award". ESPN. สืบค้นเมื่อ 9 March 2016.
  30. "Legends". Golden Foot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2015. สืบค้นเมื่อ 23 September 2015.
  31. "IFFHS announce the 48 football legend players". IFFHS. 25 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-16. สืบค้นเมื่อ 14 September 2016.
  32. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ 2021-04-29.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]